พระธาตุนาดูน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
การขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้า ธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530
การเดินทางจาก ตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
พระพุทธรูปยืนมงคล
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี
อำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 213 (มหาสารคากาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ (อยู่ทางด้านซ้ายมือ)
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
วนอุทยานโกสัมพี
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
บ้านแพง
ตำบลแพง อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
หมู่บ้านปั้นหม้อ
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม
กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จ.มหาสารคาม
กู่สันตรัตน์ เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
อำเภอนาดูน จ.มหาสารคาม สถาบัน วิจัยวลัยรุกขเวช อยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุนาดูน เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ อนุรักษ์ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์ไม้ในภาคอีสาน ภายในสถาบันฯ จะมีอุทยานลานไผ่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน ซึ่งแต่ละแห่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4379 7048บึงบอน
อำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม บึง บอน ตั้งอยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพีพิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม พิพิธภัณฑ์ วัดมหาชัย ตั้งอยู่ในตัวเมืองมหาสารคาม เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของภาคอีสาน เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูปในสมัยโบราณ บานประตู คันทวยแกะสลักอายุประมาณ 100-200 ปี นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรวบรวมวรรณคดีภาคอีสาน และพระธรรมใบลานอยู่เป็นจำนวนมากกู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามกู่ มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระอยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเรียบร้อยแล้วการเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)